หลังคาเหล็กกุลรวี (KV Metal Sheet)
KV เป็นโรงงานผู้ผลิตและจำหน่ายแผ่นหลังคาเหล็กเจ้าแรกในเขตอีสานใต้ และได้นำเหล็กเมทัลชีทจากแหล่งเหล็กรีดเย็นคุณภาพสูงจาก BlueScope มาใช้ในการผลิตเป็นเจ้าแรกของจังหวัดอุบลราชธานี
หจก. กุลรวี (KV) ผลิตแผ่นเหล็กมุงหลังคา Metal Sheet ตาม มอก. 1128-2535
หลังคาเหล็กกุลรวี (KV Metal sheet) เป็นแผ่นเหล็กคุณภาพสูงรีดเป็นลอนด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยเคลือบเหล็ก Aluzinc ป้องกันสนิมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานทันสมัยได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นแผ่นหลังคาที่ทนทาน ตรงตามมาตรฐานสากล
Metal sheet เป็นแผ่นเหล็กคุณภาพสูงรีดเป็นลอนด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยเคลือบเหล็ก Aluzinc ป้องกันสนิมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานทันสมัยได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นแผ่นหลังคาที่ทนทาน ตรงตามมาตรฐานสากล
แผ่นเมทัลซีทเคลือบอลูซิงค์ (Aluzinc Metal Sheet) แผ่นหลังคาเหล็กรีดลอนอลูซิงค์ (Aluzince Corrugated Metal Sheet Roof) นี้สามารถนำมาใช้เป็นแผ่นหลังคาเป็นแผ่นฝ้าแผ่นผนังเหล็กแผ่นกันสาด รั้ว และใช้ได้ทั้งกับ แปไม้ แปเหล็ก ผสมผสาน เข้ากับงานโครงสร้างไม้งานโครงสร้างเหล็กได้เป็นอย่างดี แผ่นเหล็กอลูซิงค์เป็นแผ่นเหล็กที่ เคลือบ อลูมิเนียม และสังกะสีซึ่ง ป้องกันสนิมได้ดีกว่าแผ่นเมทัลชีทที่ เคลือบสังกะสีอย่างเดียวถึง 4 – 5 เท่า
KV เป็นโรงงานผู้ผลิตและจำหน่ายแผ่นหลังคาเหล็กเจ้าแรกในเขตอีสานใต้ และได้นำเหล็กเมทัลชีทจากแหล่งเหล็กรีดเย็นคุณภาพสูงจาก BlueScope มาใช้ในการผลิตเป็นเจ้าแรกของจังหวัดอุบลราชธานี
แผ่นเมทัลชีทที่ดีนั้นต้องผลิตมาจากคอยล์ที่ดี เพราะ วัสดุพื้นฐานของแผ่นเมทัลชีท คือ คอยล์ม้วน นอกจากนี้ยังรวมไปถึง ความหนาของแผ่นเหล็ก BMT (Base Metal Thickness) คือ ความหนาของเนื้อเหล็กก่อนเคลือบอลูซิงค์ และ การเคลือบอลูซิงค์ อลูซิงค์หน่วยเป็นกรัมต่อตารางเมตรทั้ง 2 หน้า ซึ่งการเคลือบสารที่มากกว่าจะทำให้แผ่นเมทัลชีท ทนทานนานกว่า ซึ่งความทนทานนี้จะไม่ขึ้นกับความหนาของแผ่นเหล็กก่อนเคลือบ การเคลือบชั้นอลูซิงก์ของแผ่นเมทัลชีท ส่งผลอายุการใช้งานของแผ่นเมทัลชีทนั้นขึ้นอยู่กับชั้นเคลือบ ซึ่งความหนาของชั้นเคลือบอลูซิงค์ (Aluzinc: AZ) จะมีทั้งแบบ AZ50, AZ70, AZ90, AZ100, AZ150 โดย AZ นั้นย่อมาจากคำว่าอลูซิงค์(Aluzinc: AZ) ส่วนตัวเลขด้านหลังคือความหนาของชั้นอลูซิงค์ นั่นหมายความว่ายิ่งตัวเลขด้านหลังเยอะขึ้น ทำให้มีความทนทานต่อสนิมมากขึ้นนั่นเอง รวมไปถึง ความหนารวมของแผ่นเหล็ก เรียกว่า TCT หรือ Total Coated Thickness ความแข็งของเนื้อแผ่นเหล็ก G300 , G550 คือ ค่า Yield Strength คือค่าบอกการดึงเพื่อให้เหล็กแข็งขึ้น หน่วยเป็น Mpa โดยกรณีนำถ้าแผ่นเมทัลชีทไปใช้ในงานหลังคา ควรเลือกใช้แผ่นเมทัลชีทที่มีความแข็งแรงสูง(G550) ซึ่งสามารถพิจารณาดูได้จากรายละเอียดที่ระบุไว้ในตัวผลิตภัณฑ์
หัวข้อ | หลังคาเหล็กกุลรวี | หลังคาสังกะสี | หลังคากระเบื้อง |
---|---|---|---|
ราคา | ถ้าพื้นที่มาก รวมโครงสร้าง ราคา รวมไม่ต่างจากกระเบื้องหรือสูงกว่าไม่มาก เพราะสิ้นเปลืองค่าโครงสร้างน้อยกว่ากระเบื้อง | ราคาถูก เพราะไม่ สิ้นเปลืองค่าโครงสร้าง | ถ้าพื้นที่มาก รวมโครงสร้าง ราคา รวมแล้วจะไม่ต่างจากเมทัลชีท หรือถูกกว่าไม่มาก เพราะสิ้นเปลืองค่าโครงสร้างมากกว่าเมทัลชีท |
น้ำหนัก | น้ำหนักน้อยกว่ากระเบื้องประมาณ 4 – 6.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร | น้ำหนักจะมากกว่ากระเบื้องและน้ำหนักรวมจะขึ้นอยู่กับความหนา และขนาดของแผ่น | น้ำหนักประมาณ 49 กิโลกรัมต่อตารางเมตร |
การ สะท้อน ความร้อน | สะท้อนความร้อนได้มาก เพราะมีอลูมิเนียมเป็นส่วนผสมช่วยสะท้อนความร้อนได้ประมาณ 85% ทำให้ภายในตัวบ้านเย็นลงเร็วเมื่อถึงตอนเย็น | ช่วงแรกสีจะวาวเมื่อโดนอากาศจะแปรสภาพเป็นสีคล้ำลงทำให้ดูดความร้อนและขึ้นสนิมได้ง่าย สะสมความร้อนไว้ในตัวบ้าน | ไม่สะท้อนความร้อนทำให้อากาศภายในบ้าน หรืออาคารรอบอ้าว และ เมื่อถึงตอนเย็นภายในตัวอาคารจะเย็นช้า เพราะสะสมความร้อนไว้ |
โครง หลังคา | ใช้หลังคาไม้ หรือเหล็กก็ได้ เพราะน้ำหนักเบา และสามารถวางแปได้ห่างประมาณ 1.50 เมตร ทำให้ประหยัดโครงสร้าง | ใช้โครงสร้างหลังคาไม้ หรือ เหล็กก็ได้เพราะน้ำหนักเบา ทำให้ประหยัดค่าโครงสร้าง | ต้องวางถี่ และใช้แปเหล็ก เพราะมีน้ำหนักมาก ทำให้สิ้นเปลืองค่าโครงสร้าง |
อายุการ ใช้งาน | มากกว่า 10 -15 ปี | ไม่นานเพราะจะขึ้นสนิมเร็วจึงทำให้ผุง่าย | ถ้2 – 5 ปีขึ้นไป เพราะจะแตก หรือเกิดรอยร้าว เมื่อใช้งานได้ประมาณ 2 – 5 ปี (แล้วแต่ชนิด) |
อัตราการ รั่ว | จะกันฝนได้ดี พราะมีรอยต่อน้อย ทำให้โอกาสรั่วน้อย | เกิดสนิมง่าย โอกาสรั่วสูง | มีรอยต่อมากมักเกิดการรั่วซึม จากหลายสาเหตุ |
เสียง | เสียงดังกว่ากระเบื้องแต่เสียงจะทุ้มกว่าสังกะสี หากติดแผ่นฉนวนเสียงจะทึบลง | เสียงดังมาก | เสียงจะเบา |
ความหนาแผ่น 0.23 - 0.50 มม.
ความหนาแผ่น 0.30 - 0.51 มม.
ความหนาแผ่น 0.28 - 0.40 มม.
ความหนาแผ่น 0.23 - 0.50 มม.
ความหนาแผ่น 0.35 - 0.51 มม.
ความหนาแผ่น 0.23 - 0.51 มม.
ความหนาแผ่น 0.30 - 0.51 มม.
Asian White
Peanut Buter
Nuvo Blue
Bright Green
Citrus Orange
HG Tiger Red
Castle Red
Natural Brown
Shampoo Blue
Almighty Violet
Banana Leaf
Bangchak Green
MG Yellow
Shutter Grey
Spider Black
Tamarind Red
SRI 90
Threbo White
SRI 86
Alyara White
SRI 84
Off White
SRI 70
In Light Grey
SRI 69
Burnt Almond
SRI 63
Desert Wind
SRI 55
Jade Green
SRI 53
Alloy Grey
SRI 46
Custard Orange
SRI 36
International Brown
SRI 34
Bangkok Red
SRI 26
Ocean Blue
SRI 24
Carbonic Grey
SRI 24
Army Green
SRI 24
Tobac Brown
SRI 23
Earth Brown
SRI 23
Posh Grey
SRI 19
UK Blue
Valiant Grey
SRI N/A
Night Sky
แผ่นหลังคาดัดโค้ง (Curved Roofing) คือแผ่นหลังคาเมทัลชีทที่มีลักษณะโค้งงอ แบ่งออกเป็น แผ่นหลังคาดัดโค้งธรรมชาติที่ใช้การดัดแผ่นเมทัลชีทให้โค้งตามโครงสร้างของหลังคา และแผ่นหลังคาปั๊มโค้งที่ใช้เครื่องปั๊มโค้งในการดัด ซึ่งจะช่วยให้สิ่งปลูกสร้างดูสวยงามทันสมัยเป็นเอกลักษณ์กว่าหลังคาแบบเรียบ มักใช้เป็นหลังคาโรงงาน โรงจอดรถ กันสาด
แผ่นหลังคาดัดโค้ง โดยการนำแผ่นหลังคาเมทัลชีทผ่านเข้าเครื่องปั๊มโค้ง เหมาะสำหรับหลังคาที่มีรัศมีโค้งต่าง ๆ สามารถดัดได้ตามโครงสร้างทั้งแบบคว่ำและแบบหงาย
แผ่นหลังคาดัดโค้ง โดยการนำแผ่นหลังคาเมทัลชีทแบบตรงมาดัดตามโครงสร้างของหลังคา โดยอาศัยความยืดหยุ่นตามธรรมชาติของแผ่นหลังคา ไม่ต้องเข้าเครื่องปั๊มโค้ง
แผ่นครอบเมทัลชีท หรือ แผ่นแฟลชชิ่ง (Flashing) คือชิ้นส่วนที่ใช้ติดตั้งกับแผ่นหลังคา โดยเป็นแผ่นเมทัลชีทแบบเรียบที่มีการดัดและพับให้เป็นรูปร่างที่เหมาะสม ใช้สำหรับปิดรอยต่อ สัน ขอบ เพื่อกันน้ำซึมเข้าสู่รอยต่อของหลังคาเมทัลชีทแบบลอน รวมไปถึงใช้สำหรับตกแต่งเพื่อความสวยงาม สามารถแบ่งเป็นประเภทตามรูปร่างและการใช้งาน เช่น แผ่นครอบจั่ว แผ่นครอบสันตะเข้ แผ่นครอบข้าง แผ่นครอบชาย แผ่นครอบมุมนอก แผ่นครอบมุมใน
แผ่นบานเกล็ด หรือ แผ่นลูฟเวอร์ (Louver) คือแผ่นบานเกล็ดระบายอากาศ ผลิตจากเหล็กเมทัลชีทชนิดเรียบนำมาพับให้ได้รูป ใช้ติดตั้งไว้ที่ผนังอาคารเป็นส่วนหนึ่งของงานระบายอากาศของอาคาร โรงงานและบ้านเรือน ช่วยให้อากาศภายในอาคารระบายออกด้านนอกได้ง่ายทำให้อากาศถ่ายเทได้ดียิ่งขึ้น ทำให้อากาศภายในอาคารเย็นลง ช่วยให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากขึ้น และยังป้องกันฝนสาดเข้าสู่ตัวอาคารได้อีกด้วย
ฉนวนกันความร้อน PE (PE Foam) หรือ ฉนวนกันความร้อนโพลีเอทิลีน (Polyethylene Foam) คือฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น ผลิตจากโพลีเอทิลีนซึ่งเป็นโพลิเมอร์ที่ได้รับความนิยมเพราะเป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักเบา โครงสร้างฉนวนแข็งแรง เหนียว ทนทานต่อแรงกระแทก มีอายุการใช้งานยาวนาน ที่สำคัญคือมีราคาถูก สามารถนำมาใช้เป็นฉนวนใต้แผ่นหลังคาเมทัลชีทได้ ติดตั้งง่ายและมีความยืดหยุ่นสูงจึงเข้ากับลอนหลังคาเมทัลชีทได้พอดี
ฉนวนกันความร้อนพียู (PU Foam - Polyurethane Foam) คือเทคโนโลยีการฉีดฉนวนหรือโฟมกันความร้อนลงบนผิววัสดุ มีความสามารถในการยึดเกาะสูง สารที่ใช้ฉีดเป็นฉนวนมีชื่อว่า “โพลียูรีเทนโฟม (Polyurethane Foam)” หรือโฟมกันความร้อนนั่นเอง มีโครงสร้างเนื้อโฟมแบบชนิด SEMI - CLOSED CELLS โดยจะฉีดพ่นลงบริเวณใต้ (ได้รับความนิยมมากกว่า) หรือบนเเผ่นหลังคาเมทัลชีท ฉนวนพียู เป็นวัสดุป้องกันความร้อน ช่วยกันความร้อนได้ถึง 90% และช่วยป้องกันการเเผ่กระจายความร้อนจากหลังคาเข้าสู่ตัวอาคาร ป้องกันการรั่วซึม และช่วยลดเสียงดังจากเสียงฝนที่กระทบกับเเผ่นหลังคาเมทัลชีทให้เบาลง หรือเสียงรบกวนอื่นๆ เหมาะสำหรับที่พักอาศัย อาคาร โรงงาน โรงเรียน อุตสาหกรรมต่างๆ